วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558



      ในปี พ.ศ. 2558 ประเทศไทยกำลังจะก้าวสู่การเปิดประตูเข้าสู่สมาคมอาเซียน หรือ AEC (ASEAN Economic Community) และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เราจึงต้องเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ของประเทศในประชาคมอาเซียนในด้านต่างๆ โดย ณ ที่นี้ จะพาไปรู้จักกับสัตว์ประจำชาติอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ
ประเทศที่เป็นสมาชิกประชาคมอาเซียนมีด้วยกันอยู่ 10 ประเทศ ประกอบไปด้วย ไทย เมียนมาร์ลาว  กัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์  ฟิลิปปินส์ และบรูไน ซึ่งแต่ละประเทศเองก็มีสัตว์ที่เป็นเอกลักษณ์บ่งบอกความเป็นชาติของตนเอง

ประเทศไทย
ประเทศเมียนมาร์
ประเทศลาว
ประเทศกัมพูชา
ประเทศเวียดนาม
ประเทศอินโดเนเซีย
ประเทศมาเลเซีย
ประเทศสิงคโปร์
ประเทศฟิลิปปินส์
ประเทศบรูไน

สัตว์ประจำชาติของประเทศไทย

"ช้าง (Asian Elephant) " เป็นสัตว์ประจำชาติของไทย อยู่เป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองและปรากฏในเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ ช้างเป็นสัตว์ที่พระมหากษัตริย์ในสมัยโบราณใช้เป็นพาหนะ และใช้ในการทำสงคราม มีการนำช้างมาใช้ในพิธีการสำคัญ รวมไปถึงเป็นแรงงานทางด้านการเกษตรกรรม เรียกได้ว่าวิถีชีวิตคนไทยในอดีตได้มีความผูกพันกับช้างตั้งแต่ระดับพระมหากษัตริย์จนถึงสามัญชน
 แม้ช้างจะเป็นสัตว์มงคล แสนรู้ และสามารถนำมาใช้งานต่างๆได้อย่างหลากหลาย แต่ความเจริญของบ้านเมืองก็ทำให้ความสำคัญของช้างลดลง นอกจากนี้ ช้างป่าก็แทบไม่มีที่อยู่อาศัยเพราะมนุษย์ทำลายป่าที่เป็นที่อยู่อาศัยของช้าง ทำให้ปัจจุบันกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้จัดตั้งศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย หรือสถาบันคชบาลแห่งชาติขึ้นที่จังหวัดลำปาง เมื่อปี พ.ศ. 2512 และรัฐบาลได้กำหนดให้วันที่ 13 มีนาคมของทุกปีเป็นวันช้างไทย


สัตว์ประจำชาติของประเทศเมียนมาร์

 เสือโคร่งพันธุ์อินโดจีน (Indo-Chinese tiger) พม่ายังคงมีพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์เป็นจำนวนมาก ทำให้ยังมีเสืออย่างชุกชุม เมียนมาร์ มีการจัดตั้งเขตอนุรักษ์พันธุ์เสือที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งก็ตั้งอยู่ที่หุบเขาฮูกวงในรัฐกะฉิ่นของประเศเมียนมาร์

สัตว์ประจำชาติของประเทศลาว

 สัตว์ประจำชาติของประเมศลาว คือ ช้างเอเชีย(Asian elephant) เช่นเดียวกับไทย ไม่ใช่เพียงเพราะในประเทศลาวมีช้างมากเท่านั้น แต่ช้างยังเป็นสัญลักษณ์บนธงของอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งเป็นอาณาจักรของลาวในอดีตอีกด้วย

สัตว์ประจำชาติของประเทศกัมพูชา

 สัตว์ประจำชาติของประเทศกัมพูชาคือ กูปรี(Kouprey) หรือโคไพร ซึ่งเป็นสัตว์จำพวกกระทิงและวัวป่า มีอยู่เฉพาะในภูมิภาคอินโดจีน และเป็นสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ ปัจจุบันไม่มีรายงานการพบเห็นอีก แต่เชื่อว่า อาจยังพอมีหลงเหลืออยู่ในเขตชายแดนไทย-กัมพูชา แถบจังหวัดศรีสะเกษ ทำให้เจ้านโรดมสีหนุ กษัตริย์แห่งกัมพูชา ทรงประกาศให้กูปรีเป็นสัตว์ประจำชาติประเมศมาเลเซียในปี ค.ศ.1964

สัตว์ประจำชาติของประเทศเวียดนาม

 ควาย(Water buffalo) เป็นสัตว์ประจำชาติของประเทศเวียดนามเช่นเดียวกับฟิลิปปินส์ เนื่องจากเกษตรกรเวียดนามปลูกข้าวเป็นพืชหลักของประเทศ และในอดีตก็มีการใช้ควายไถนา พบได้ทั่วไปทางภาคใต้ของประเทศ นอกจากควายแล้ว เสือโคร่งและมังกรก็ถือได้ว่าเป็นสัตว์ประจำชาติของเวียดนามอีกด้วย

สัตว์ประจำชาติของประเทศอินโดเนเซีย

 สัตว์ประจำชาติของประเทศอินโดเนเซีย คือ มังกรโคโมโด(Komodo dragon) มีชื่อพื้นเมืองว่า Ora ซึ่งถือว่าเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก กินเนื้อเป็นอาหาร เมื่อโตเต็มที่อาจมีความยาวถึง 3 เมตร เป็นสัตว์ประจำถิ่นพบที่เกาะโคโมโด เกาะปาดาร์ และเกาะริงกาในประเทศอินโดเนเซียเท่านั้น

สัตว์ประจำชาติของประเทศมาเลเซีย

 สัตว์ประจำชาติมาเลเซียคือ เสือโคร่งพันธุ์มลายู(Malayan tiger) เป็นเสือที่พบเฉพาะในคาบสมุทรมลายูเท่านั้น แยกสายพันธุ์มาจากเสือโคร่งอินโดจีนแต่มีขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย อยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ นอกจากเป็นสัตว์ประจำชาติแล้ว ยังปากฏในตราแผ่นดินของประเทศมาเลเซียอีกด้วย และเนื่องจากมีเสือเป็นสัตว์ประจำชาติ จึงทำให้มีการเรียกประเทศมาเลเซียว่า "เสือเหลือง"

สัตว์ประจำชาติของประเทศสิงคโปร์

 สัตว์ประจำชาติของสิงคโปร์คือ สิงโต(Lion) ตามบันทึกกล่าวว่าเจ้าชายแสงนิลา อุตามาแห่งเมืองปาเล็มบัง เรือล่มแล้วลอยไปติดเกาะแห่งหนึ่ง ได้เห็นสัตว์ชนิดหนึ่งแล้วเชื่อว่าเป็นสิงโต จึงตั้งชื่อเกาะแห่งนี้ว่า "สิงหปุระ"(เมืองแห่งสิงโต) ในภาษามลายู และเป็นที่มาของ "หัวสิงโต" สัญลักษณ์ประจำชาติสิงคโปร์อีกด้วย แต่่ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าในแถบประเทศสิงคโปร์ีสิงโตอาศัยอยู่ ดังนั้นสัตว์ที่เจ้าชายแสงนิลา อุตามาเห็นน่าจะเป็นเสือมากกว่า และสัตว์ประจำชาติสิงคโปร์อีกชนิดหนึ่ง คือ เมอร์ไลออน(merlion) มีหัวเป็นสิงโต ท่อนล่างเป็นปลา มาจากคำว่า mermaid รวมกันกับ lion ซึ่งถือได้ว่าเป็นสัญักษณ์ขององค์การท่องเที่ยวสิงคโปร์ด้วย ซึ่งเงือกดังกล่าวสามารถลื่อให้เห็นว่า สิงคโปร์เคยเป็ฯหมู่บ้านชาวประมงมาก่อน



สัตว์ประจำชาติของประเทศฟิลิปปินส์

สัตว์ประจำชาติของประเทศฟิลิปปินส์คือ ควาย(Water buffalo) เพราะชาวฟิลิปปินส์ปลูกข้าวกินเป็ฯอาารหลักเช่นเดียวกันกับชาวไทย ควายจึงเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญมากสำหรับช่วยไถนา และยังใช้เป็นพาหนะ ขนส่งสิ่งของ และนำเนื้อมารับประทานอีกด้วย

สัตว์ประจำชาติของประเทศบรูไน

ยังไม่มีกำหนดชัดเจนแต่ปรากฏพบลิงจมูกยาว (Proboscis Monkey) พบได้บนเกาะบอร์เนียวเท่านั้น ลิงชนิดนี้มีชื่อเรียในภาษามลายูว่า โอรังบลันดา(Orang Belanda) หมายถึง ชาวดัตซ์หรือชาวฮอลันดา เพราะคนท้องถิ่นในอดีตเห็นว่า ลิงชนิดนี้มีจมูกใหญ่ท้องใหญ่อ้วนท้วมเหมือนชาวดัตซ์ที่เข้ามาติดต่อค้าขายบนเกราะบอร์เนียวในสมัยโบราณ